1.1 จุดเริ่มต้นแนวเชื่อมและจุดสิ้นสุดแนวเชื่อม

    1) การเริ่มต้นจุดเชื่อม จะเริ่มต้นจากการทำให้เกิดการอาร์ค เมื่อเกิดการอาร์คแล้วยกลวดเชื่อมขึ้นโดยประมาณ และควบคุมระยะอาร์คให้ได้ระยะเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของลวดเชื่อม ปรับมุมลวดเชื่อมให้ได้ตามลักษณะของรอยต่อหรือตำแหน่งท่าเชื่อมที่กำหนดซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละรอยต่อหรือตำแหน่งท่าเชื่อม รอให้เกิดการหลอมละลายของลวดเชื่อมอย่างสมบูรณ์ก่อน จึงเคลื่อนลวดเชื่อมไปตามทิศทางที่ต้องการเชื่อม ขณะเดียวกันเมื่อเกดการอาร์คลวดเชื่อมจะถูกหลอมละลายหดลง ดังนั้นจะต้องกดลวดเชื่อมเติมลงในบ่อหลอมละลายอย่างสม่ำเสมอ

    2) จุดสิ้นสุดแนวเชื่อม เมื่อควบคุมการเชื่อมมาจนถึงจุดสิ้นสุดแนวเชื่อม ปลายสุดของแนวเชื่อมจะเป็นแอ่งโลหะปลายแนวเชื่อม (Crater) ซึ่งเป็นจุดที่มีความแข็งแรงต่ำสุดของแนวเชื่อมและเป็นจุดเริ่มต้นของการแตกร้าว จึงจำเป็นต้องเติมลวดเชื่อมที่ปลายแอ่งโลหะให้เต็มโดยการเดินย้อนกลับเล็กน้อย แล้วหยุดลวดเชื่อมเติมลงแอ่งปลายแนวเชื่อมให้เต็ม เอนลวดเชื่อมประมาณ 15-30 องศา ให้สะบัดลวดเชื่อมกลับย้อนทางแล้วยกลวดเชื่อมขึ้น

1.2 การต่อแนวเชื่อม ลวดเชื่อมไฟฟ้าที่มีสารพอกหุ้ม เมื่อเชื่อมจนปลายลวดเชื่อมเหลือประมาณ 1½ นิ้ว จะต้องมีการเปลี่ยนลวดเชื่อมและการเปลี่ยนลวดเชื่อมใหม่จะต้องใช้ลวดเชื่อมที่มีคุณสมบัติเท่ากับลวดเชื่อมเดิม ซึ่งการต่อแนวเชื่อมมีวิธีการปฏิบัติดังนี้

    1) ต่อแนวเชื่อมในกรณีที่แอ่งปลายแนวเชื่อมยังร้อนอยู่ ให้เชื่อมต่อได้ทันที ไม่ต้องเคาะ สแลกทำความสะอาด โดยเริ่มอาร์คห่างจากแอ่งหลอมละลายในลักษณะอาร์คห่างหรืออาร์คยาว แล้วจึงเคลื่อนลวดเชื่อมกลับไปตรงแอ่งหลอมละลายของแนวเชื่อม
    2) การต่อแนวเชื่อมในกรณีที่แอ่งปลายแนวเชื่อมเย็นลงแล้ว ให้ทำการเคาะสแลกออกแล้วทำความสะอาดแนวเชื่อมก่อน หลังจากนั้นให้เริ่มอาร์คเหมือนเดิม

1.3 การเดินแนวและการส่ายลวดเชื่อมการเชื่อมเพื่อให้ได้แนวเชื่อมที่สมบูรณ์ ทั้งแนวกว้างและแนวแคบต้องอาศัยการซึมลึกที่ดี ซึ่งมีเทคนิควิธีการเดินแนวและการส่ายลวดเชื่อม ดังนี้

   1) การเดินแนวเชื่อมเพื่อป้องกันลวดเชื่อม โดยไม่ส่ายลวดเชื่อม แต่ถ้าเป็นการฝึกใหม่ ๆ มือจะสั่นเล็กน้อยก็เหมือนกับการส่ายแนวเป็นลวกลมเล็ก ๆ
   2) การเดินแนวและส่ายลวดเชื่อมสลับไขว้ไปทางซ้ายและทางขวามือ โดยไม่ต้องหยุดตรงกลางแนวเชื่อม
   3) การเดินแนวและส่ายลวดเชื่อมแบบเดินหน้า-ถอยหลัง ตามแนวการเชื่อม วิธีนี้มักจะนิยมใช้กับการเชื่อมต่อชนแนวซึมลึกแนวแรก การเดินหน้า คือ การให้ความร้อนชิ้นงานการถอยหลัง คือ การเติมแนวเชื่อม เพื่อควบคุมรูกุญแจ (Key Hole) การเดินแนวและส่ายลวดเชื่อมไม่จำเป็นต้องใช้เสมอไป ขึ้นอยู่กับความต้องการ สำหรับรอยเชื่อมนั้น ๆ ส่วนมุมในการเชื่อมก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามตำแหน่งท่าเชื่อม ซึ่งในการเชื่อมต่าง ๆ จะมีวิธีการส่ายลวดเชื่อมแตกต่างกันออกไป ดังนี้
3.1 การส่ายลวดเชื่อมในตำแหน่งท่าราบ (Flat Surface)
3.2 การส่วยลวดเชื่อมในตำแหน่งท่าขนานนอน (Horizontal Line)
3.3 การส่ายลวดเชื่อมในตำแหน่งท่าตั้ง (Vertical Line)
3.4 การส่ายลวดเชื่อมในตำแหน่งท่าเหนือศีรษะ (Overhead)